แชร์

นักกำหนดอาหารคือใคร?

นักกำหนดอาหาร คือใคร มีบทบาทหน้าที่อะไรในโรงพยาบาล ?

ส่วนใหญ่แล้วนักกำหนดอาหารจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการอยู่ในห้องครัวของโรงพยาบาล และการที่จะได้เจอตัวนักกำหนดอาหารนั้นจะเป็นผู้ป่วยโรคกลุ่ม NCDs หรือโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางโภชนาการเป็นหลัก โดยจะมีคุณหมอเป็นคนสั่งให้นักกำหนดอาหารเข้าให้คำปรึกษากับผู้มาใช้บริการ


“นักกำหนดอาหาร” กับ “นักโภชนาการ” ต่างกันไหม ? 

 “นักโภชนาการ” (Nutritionist) คือ ผู้ที่จบการศึกษาด้านโภชนาการ และเป็นผู้มีความรู้ในการดูแลจัดบริการอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และสามารถให้คำแนะนำโภชนาการทั่วไปได้

“นักกำหนดอาหาร” (Dietitian) คือ ผู้ที่จบการศึกษาด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร ผ่านการสอบขึ้นทะเบียนรับรองผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา “การกำหนดอาหาร”  เป็นผู้ที่นำความรู้ทางด้านอาหารและโภชนาการมากำหนดปริมาณอาหารและสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน เน้นความเชี่ยวชาญลงลึกในเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการและอาหารที่เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีม “สหสาขาวิชาชีพ” โดยทำหน้าที่หลักคือ ประเมินภาวะโภชนาการ คำนวณความต้องการพลังงานสารอาหาร กำหนดปริมาณที่เหมาะสม และให้คำปรึกษาด้านอาหารและโภชนาการ

 

สรุป

 “นักโภชนาการ” และ “นักกำหนดอาหาร” คือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการ สร้างความเข้าใจในการกินให้ถูกต้อง เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้มาใช้บริการ แต่ นักกำหนดอาหารจะเป็นขั้นกว่าของนักโภชนาการ เพราะต้องจบในสาขาที่กำหนดเท่านั้นและต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนรับรองผู้ประกอบโรคศิลปะสาขา “การกำหนดอาหาร”เท่านั้นจึงจะสามารถทำอาชีพนี้ได้

 

และทางโรงพยาบาลศรีสวรรค์ กรุงเทพมหานคร ราชพฤกษ์ ของเรานั้นก็มี “นักกำหนดอาหาร” ที่ปฎิบัติงานอยู่และพร้อมที่จะให้คำปรึกษากับทุกคนที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาล

 

 

ผู้เขียน ธัญพิสิษฐ์ เรืองอุไร (นักกำหนดอาหาร)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลดความอ้วนแล้วทำไมถึงท้องผูก

ท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย เวลาลดน้ำหนัก โดยสังเกตุได้จากการที่ถ่ายยาก หรือ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

เกิดได้จากหลายสาเหต

1. กินน้ำไม่เพียงพอต่อวัน เพราะน้ำช่วยให้อุจาระขับถ่ายได้ง่ายขึ้น

2. เครียดเวลาลดน้ำหนัก เพราะ เวลาเครียด จะมีภาวะเบื่ออาหาร การขับถ่ายก็จะถูกกระทบไปด้วยคือ ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราว

3. ลดน้ำหนักแบบอดอาหาร ทำให้มีกากใยน้อย หรือบางทีก็อดอาหารมากไปจนไม่มีอะไรจะถ่าย

4. กินยาระบายเป็นประจำ จนทำให้ร่างกายชินกับยา พอหยุดยาก็ทำให้เกิดอาการท้องผูก

 

วิธีแก้

?      ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน อย่างน้อย 2 -3 ลิตรต่อวัน

?      ควรได้รับใยอาหารประมาณ 25 กรัมต่อวัน คือ ผัก 3 - 5 ทัพพีต่อวัน และผลไม้ 2 - 3 ส่วนต่อวัน

?      ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้เพิ่มขึ้น

?      หากใช้ยาระบายควรใช้เป็นครั้งคราว ไม่ควรใช้ต่อเนื่องระยะยาว

ผู้เขียน ธัญพิสิษฐ์ เรืองอุไร (นักกำหนดอาหาร)

 

อ้างอิง : คณะเภสัชศาสตร์ มหาลัยมหิดล

 

คุณหมอแนะนำ

ติดตามเรา

ห้องแชทสอบถามข้อมูล
15 พฤษภาคม 2567