แชร์

ไอเรื้อรัง มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดหรือเปล่า?

เมื่อมีอาการไอเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดหรือไม่?

พญ.วีริศา: หากคนไข้มีอาการผิดปกติ อาทิ เช่น มีไข้ ไอ เหนื่อย หรือว่าหายใจไม่อิ่ม เมื่อมาพบแพทย์เพื่อปรึกษาแนวทางการรักษา การตรวจวินิจฉัยแรกที่แพทย์ใช้ในการประเมิน คือ  X-ray ปอด เบื้องต้น เนื่องจากคนไข้มีอาการชัดเจนอยู่ที่บริเวณปอด ถ้าประเมิน X-ray ผลเบื้องต้นสามารถอธิบายในสิ่งที่สงสัยว่าคนไข้มีปัญหาและเกิดภาวะเจ็บป่วยอย่างไรเบื้องต้น เช่น อาจจะมีการติดเชื้อในปอด พบก้อนในปอด หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ถ้า ผลX-ray มีความชัดเจน การรักษาก็สามารถทำได้เลยตามภาวะเจ็บป่วยที่พบ

หากพบว่าผล X-ray เจอมีจุดเล็กๆ ที่ปอด หรือ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด รายละเอียดที่แพทย์ต้องการความชัดเจนมากขึ้นเพื่อการวินิจฉัย ก็จะแนะนำให้  CT scan  หรือส่งทำหัตถการอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผล X-ray ปอดที่พบเบื้องต้น

Q: กรณีที่ผู้รับบริการไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ที่ต้องการคัดกรองสุขภาพปอด แพทย์มีคำแนะนำการคัดกรองด้วยวิธีใดบ้างคะ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

พญ.วีริศา: การตรวจคัดกรองในผู้รับบริการที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆแต่มีความกังวล ต้องการคัดกรองว่าเรามีความเสี่ยงหรือโอกาสพบเจอโรคเกี่ยวกับปอดหรือไม่ อย่างไร  เช่น ติดเชื้อในปอดเรื้อรัง มะเร็งปอด ก้อนในปอด ตลอดจนโรคอื่นๆ ที่พบได้ในปอด เป็นต้น กลุ่มคนที่แนะนำเบื้องต้น ในการคัดกรองมะเร็งปอด เบื้องต้น คือ

1. อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

2. คนที่สูบบุหรี่หนัก 20 pack-year คือ ใน 1 วัน สูบบุหรี่ 1 ซอง มานานเกินกว่า 20 ปี

3. แม้ว่าสูบบุหรี่หนักแล้วหยุดสูบบุหรี่ แต่หยุดสูบบุหรี่ไม่เกิน 15 ปี ก็ถือว่ายังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ควรมา คัดกรองมะเร็งปอด

ทั้ง 3 กลุ่มนี้ คือ พบว่ามีประโยชน์ในการคัดกรอง ในกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือวิตกกังวลที่ต้องการคัดกรองสามารถ สามารถนัดหมายพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและคัดกรอง เบื้องต้นได้

วิธีการคัดกรองมะเร็งปอดในปัจจุบัน แนะนำการคัดกรองด้วยเครื่อง  CT Chest Low-Dose  ซึ่งหากถามว่า CT chest low dose แตกต่างกับ CT chest  ปกติอย่างไร CT Chest Low-Dose เป็นการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกที่ไม่ฉีดสารทึบรังสี และลดรังสีที่จะส่องเข้ามาที่คนไข้ ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆจึงน้อยมาก  ถ้าพบอะไรที่น่าสงสัยใน CT Chest Low-Dose  หมอก็จะพิจาณณาการทำ CT Chest ปกติ ฉีดสีหรือไปทำหัตถการอื่นๆที่เหมาะสมอีกครั้ง

Q: ถ้าวิตกกังวลในเรื่องของมะเร็งปอด โรงพยาบาลศรีสวรรค์สาขาราชพฤกษ์ สามารถให้การรักษาได้หรือไม่ อย่างไร

พญ.วีริศา: หากกรณีที่โชคร้ายตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแล้วพบว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต้องทำความเข้าใจกับคำว่ามะเร็งก่อนเมื่อมีความเข้าใจ ความวิตกกังวลจะลดลง มะเร็งมีหลายระยะ โดยมะเร็งแบ่งเป็น 4 ระยะ 1-3 จะเป็นระยะต้น ระยะที่ 4 คือระยะแพร่กระจาย ระยะที่4 จะรักษายาก ไม่หายขาด  การตรวจพบเจอเร็วในระยะต้นๆย่อมมีผลการรักษาที่ดีกว่า การคัดกรองจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์กับผู้ป่วยพอสมควร มะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีการ  ถ้ามีความเสี่ยง มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับปอดที่สงสัยหรือเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด การคัดกรองด้วยการทำ CT Chest Low-Dose แล้วพบว่าเป็นระยะแรกๆ แนวทางการรักษาอาจจะแนะนำให้ผ่าตัดถ้าผ่าตัดได้ ถ้าหากผ่าตัดไม่ได้ก็ให้เป็นฉายแสงคู่กับยาเคมีบำบัดในเบื้องต้น เมื่อทำการรักษาครบตามมาตรฐานแล้วอาจจะมีการให้เคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริมเพื่อหวังการหายขาด ในกรณีที่เราผ่าตัดหรือว่าผ่าตัดร่วมกับการฉายแสงครบไปแล้ว ก็ทำให้หายขาดได้ ระยะต้นเรามีจุดมุ่งหมายว่าจะให้มะเร็งขาด แต่ถ้าเป็นระยะแพร่กระจายจุดมุ่งหมายคือต้องการให้คนไข้อยู่กับเราได้นานมากขึ้นโดยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมียาอีกกลุ่มหนึ่ง  แพทย์อาจพิจารณาให้เป็นยาเคมี ยามุ่งเป้า หรือว่าเป็นยาปรับภูมิ ขึ้นอยู่กับชิ้นเนื้อของคนไข้ที่แพทย์จะเอาไปตรวจเบื้องต้น โดยจะเป็นการชะลอหรือยับยั้งไม่ให้ตัวโรคกระจายไปมากจนทำให้คนไข้สภาวะหรืออาการทุกข์ทรมานจากตัวโรคหรืออาการของโรค  ซึ่งการรักษาปัจจุบันก็จะมีทั้งยารักษาและยาบรรเทาต่างๆ โดยคำนึงถึงคนไข้และญาติเป็นสำคัญ ซึ่งทั้งหมดนี้ทาง รพ.ศรีสวรรค์สาขาราชพฤกษ์ สามารถให้ตรวจวินิจฉัย รักษาและดูแลผู้ป่วยได้ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญและความพร้อมในทุกมิติ


ข้อมูลโดย พญ.วีริศา วิมลเฉลา

แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา

คุณหมอแนะนำ

ติดตามเรา

ห้องแชทสอบถามข้อมูล
6 ตุลาคม 2567